ศาลปกครอง สั่งต่อป้ายภาษีทะเบียนรถ แม้ค้างค่าปรับจราจร ชี้ตกลงกันเอง
ศาลปกครอง กลาง มีคำพิพากษาตามคดีหมายเลขดำที่ 2120/2567 คดีหมายเลขแดงที่ 2682/2567 ลงวันที่ 18 ธ.ค.2567 เกี่ยวกับการต่อภาษีรถยนต์ ที่ค้างค่าปรับใบสั่ง บ่อนคาสิโน ไทย ตามกฎหมายจราจร ระหว่าง นายอำนาจ ผู้ฟ้องคดี กับผู้ถูกฟ้องคดี ประกอบด้วย กรมการขนส่งทางบก ที่ 1 อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ที่ 2 สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 5 ที่ 3 ฝ่ายทะเบียนสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 5 ที่ 4 นายทะเบียนตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 ที่ 5 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ 6 ผู้ถูกฟ้องคดี เทคนิคบาคาร่าแพ้ยาก
ศาลปกครอง มีคำพิพากษา ตามคดีหมายเลขดำ ที่ 2120/2567 คดีหมายเลขแดง ที่ 2682/2567
เรื่องคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ละเลยต่อหน้าที่ ตามที่กฎหมายกำหนด ให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว ล่าช้าเกินสมควร และการกระทำ ละเมิดของหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันเกิดจากการละเลยต่อหน้าที่ ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว ว่าเกินสมควร
คดีนี้อธิบดีศาลปกครองกลางมีคำสั่งให้ดำเนินกระบวนพิจารณาคดีโดยเร่งด่วนตาม ข้อ 49/2 วรรคหนึ่ง แห่งระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2543
ตามฟ้องโจทก์ระบุว่า นายทะเบียน กรมการขนส่งทางบก ไม่ออกป้ายภาษีวงกลมให้ โดยส่งมอบแค่ใบเสร็จชำระค่าภาษีประจำปี แล้วประทับตราว่าใช้แทนเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีไม่เกิน 30 วัน ให้แทน พร้อมเอกสารที่ปรินต์จากเครื่องคอมพิวเตอร์ แสดงรายละเอียดข้อมูลการกระทำความผิดตามกฎหมายจราจร
โดยอ้างข้อตกลงที่ทำขึ้นระหว่างสำนักงานตำรวจแห่งชาติกับกรมการขนส่งทางบกเพียงฝ่ายเดียว เป็นการละเลยและไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการของพระราชบัญญัติการจราจรทางบก ดังนั้น จึงไม่มีอำนาจในการชะลอการออกป้ายภาษีวงกลมให้กับเจ้าของรถที่ค้างชำระค่าปรับจราจร
“หลักการชำระภาษีรถเป็นเรื่องเกี่ยวกับตัวรถ แต่การทำผิดกฎจราจรเป็นเรื่องของบุคคล การนำ 2 เรื่องมาเชื่อมโยงกันจึงไม่ถูกต้อง เป็นการบังคับทางอ้อมให้เจ้าของรถต้องยินยอมชำระค่าปรับ” คำฟ้องตอนหนึ่งระบุ
ทั้งนี้ ศาลปกครองกลางยังสั่งให้กรมการขนส่งทางบกจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ฟ้องคดีด้วย
“พิพากษาให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 5 ออกเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีรถประจำปี พ.ศ.2568 ให้แก่ผู้ฟ้องคดี ทั้งนี้ ภายในสามวันนับแต่วันที่คดีถึงที่สุด และให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ฟ้องคดีเป็นเงิน จำนวน 3,151.50 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี หรืออัตราดอกเบี้ยใหม่ที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาซึ่งออกตามความในมาตรา 7 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละ 2 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ทั้งนี้ ไม่เกินอัตราร้อยละ 5 ต่อปี ตามคำขอของผู้ฟ้องคดี ทั้งนี้ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่คดีถึงที่สุด
ยกฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 4 และผู้ถูกฟ้องคดีที่ 6 คืนค่าธรรมเนียมศาลบางส่วนตามส่วนของการชนะคดีให้แก่ผู้ฟ้องคดี คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก” ท้ายคำพิพากษาระบุ